รวมสารอาหารที่ช่วยให้ข้อเข่าแข็งแรง ที่ไม่ได้มีแค่แคลเซียม

แคลเซียมสำหรับบำรุงข้อเข่าเป็นหนึ่งในอาหารเสริมที่หลายคนให้ความสนใจ โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องข้อเข่าเสื่อม ซึ่งนอกจากแคลเซียมแล้ว ยังมีสารอาหารอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพข้อเข่าอีกหลายตัว และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการทานผลิตภัณฑ์แคลเซียมบำรุงข้อเข่าควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีสารอาหารดังต่อไปนี้อยู่ในส่วนประกอบ

สารอาหารสำคัญในแคลเซียมบำรุงข้อเข่า

  • แคลเซียม (Calcium) ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและข้อ ควรเลือกเป็นแคลเซียมที่ดูดซึมง่าย เช่น แคลเซียมซิเตรต หรือแคลเซียมแลคเตท
  • วิตามินดี (Vitamin D3) ช่วยดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น การขาดวิตามินดีอาจทำให้แคลเซียมที่ทานเข้าไปไม่สามารถนำไปใช้ได้เต็มที่
  • คอลลาเจนไทป์ 2 (Collagen Type II) พบในกระดูกอ่อน ช่วยบำรุงข้อเข่า ลดอาการเจ็บปวดและอักเสบ เหมาะสำหรับผู้ที่มีข้อเสื่อมหรือเริ่มมีเสียงดังในข้อ
  • กลูโคซามีน (Glucosamine) และคอนดรอยติน (Chondroitin) ช่วยฟื้นฟูผิวกระดูกอ่อน ลดอาการปวดข้อ และเพิ่มน้ำหล่อเลี้ยงข้อ
  • แมกนีเซียม (Magnesium) และซิงค์ (Zinc) เสริมสร้างกระดูกและข้อให้แข็งแรงขึ้น ร่วมกับแคลเซียม

เหมาะกับใคร?

  • ผู้สูงอายุที่เริ่มมีปัญหาปวดข้อ เข่าฝืด
  • ผู้ที่ออกกำลังกายหนัก หรือใช้งานข้อเข่ามาก
  • ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน หรือเสี่ยงกระดูกหักง่าย

เคล็ดลับในการเลือกผลิตภัณฑ์แคลเซียมบำรุงข้อเข่า

  • ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ มีสารอาหารเสริมหลายชนิด รวมทั้งแคลเซียม, วิตามินดี, และคอลลาเจน
  • เลือกผลิตภัณฑ์ที่ มีอย.รับรอง และผลิตจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ
  • เลือกแบบเม็ดเล็กหรือแคปซูลสำหรับผู้ที่กลืนยาเม็ดยาก

แม้ว่าการทานแคลเซียมจะมีผลดีต่อกระดูก และช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ แต่การรับประทานแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไปไม่ได้ส่งผลดีต่อร่างกายแต่อย่างใด ทั้งยังทำให้เกิดโทษอีกด้วย โดยอาจเพิ่มโอกาสที่ทำให้เกิดนิ่วในไตหรือในระบบทางเดินปัสสาวะ หรืออาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหรือโรคทางสมองบางชนิดได้ ดังนั้นควรที่จะรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอไปด้วย

ทำความรู้จักกับรากฟันเทียม ครอบฟัน ราคาแพงไหม ?

รากฟันเทียม คือ อวัยวะเทียมที่ใช้ทดแทนรากฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป โดยปัจจุบันวัสดุมีทั้งแบบไทเทเนียม และแบบเซรามิก ซึ่งเข้ากันได้ดีกับร่างกายมนุษย์ มีลักษณะคล้ายสกรูหรือแท่งแกน ฝังลงในกระดูกขากรรไกรบริเวณที่สูญเสียฟัน ทำหน้าที่เป็นฐานรองรับฟันปลอมชนิดต่างๆ เช่นครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอมแบบถอดได้

ผู้ใดที่ควรใส่รากฟันเทียม

การใส่รากฟันเทียมมีหลากหลายสาเหตุที่ควรพิจารณา ดังนี้

  • ผู้ที่สูญเสียฟันหรือฟันหายไป
  • เพื่อรักษาสุขภาพของกระดูกขากรรไกร
  • เพื่อปรับปรุงการเคี้ยวและการพูด
  • ผู้ที่ไม่สามารถใส่ฟันปลอมแบบถอดได้

ผู้ใดที่ไม่ควรใส่รากฟันเทียม

  • ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ เพราะอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนระหว่างการรักษาได้
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง และยังไม่สามารถควบคุมอาการได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ
  • ผู้ที่อยู่ระหว่างรักษาด้วยรังสีบำบัด (Radiation Therapy) บริเวณคอ หรือศีรษะ อาจต้องรับการประเมินเป็นรายคนไป
  • ผู้ที่ขากรรไกรยังไม่หยุดการเจริญเติบโต

รากฟันเทียมมีกี่รูปแบบ

การทำรากฟันเทียมแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบหลักๆ ดังนี้

1. การทำรากฟันเทียมแบบดั้งเดิม

การทำรากฟันเทียมแบบดั้งเดิม (Conventional Implant) คือการทำรากฟันเทียมหลังจากถอนฟันซี่ที่มีปัญหาออก จากนั้นรอให้กระดูกและแผลหายสนิท โดยใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน ขึ้นอยู่กับสภาพช่องปากและขากรรไกรของแต่ละคน

2. การทำรากฟันเทียมหลังจากถอนฟันทันที

การทำรากฟันหลังจากถอนฟันทันที (Immediate implant placement) คือการใส่รากฟันเทียมทันทีหลังจากถอนฟันเสร็จเลย จากนั้นรอประมาณ 3-6 เดือน เพื่อให้รากฟันเทียมยึดกับกระดูก แล้วจึงครอบฟันหรือทำสะพาน วิธีนี้ประหยัดเวลามากกว่า แต่ต้องให้ทันตแพทย์เฉพาะทางประเมินสภาพช่องปาก และกระดูกขากรรไกรร่วมด้วย

3. การทำรากฟันเทียมพร้อมฟันปลอม

การทำรากฟันเทียมพร้อมฟันปลอม (Immediate loaded implant) คือรากฟันเทียมที่ใส่ร่วมกับครอบฟันในครั้งเดียว

วิธีนี้คือวิธีที่รวดเร็วที่สุด ลดขั้นตอนและเวลารักษาได้มาก แต่ก็มีข้อจำกัดมากเช่นกัน เช่น เหมาะกับตำแหน่งฟันหน้าหรือฟันกรามน้อยเท่านั้น สภาพกระดูกขากรรไกรต้องสมบูรณ์ มีกระดูกเพียงพอในการฝังรากเทียม ลักษณะการสบของฟันเหมาะสม ซึ่งต้องให้ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประเมินอย่างละเอียด

ทำรากฟันเทียมราคาเท่าไหร่?

  • รากฟันเทียมชนิด OSSTEM Dental lmplantation (OSSTEM) ราคา 50,000 บาท/ซี่
  •  รากฟันเทียมชนิด Straumann Dental lmplantation (Straumann) ราคา 75,000 บาท/ซี่

สรุป  รากฟันเทียม ครอบฟัน ราคาแพงไหม ? การใส่รากฟันเทียมเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่สูญเสียฟันแท้ตามธรรมชาติไป และต้องการใส่ฟันทดแทนที่แข็งแรง ทนทาน ใช้งานได้เหมือนฟันปกติ เงื่อนไขสำคัญในการทำรากฟันเทียมคือต้องมีสุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัวร้ายแรง และสามารถไปพบทันตแพทย์ได้หลายครั้งตลอดการรักษา